โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ลำปาง จัดกิจกรรม KM คัดสรรแนวปฏิบัติที่ดีโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอุดมศึกษาพี่เลี้ยง STEM EDUCATION | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา ลำปาง จัดกิจกรรม KM คัดสรรแนวปฏิบัติที่ดีโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอุดมศึกษาพี่เลี้ยง STEM EDUCATION

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 18 กันยายน 2560 โดย จารุวรรณ สุยะ จำนวนผู้เข้าชม 3671 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

          16 กันยายน 2560 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง จัดกิจกรรม KM โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอุดมศึกษาพี่เลี้ยง STEM EDUCATION ณ อาคารอเนกประสงค์ โดยมี ดร.พวงทอง วังราษฎร์  รองผู้อำนวยการกองการศึกษา ฝ่ายวิชาการ  เป็นประธานในพิธีเปิด มีครูสถานศึกษาเครือข่ายร่วมกิจกรรมกว่า 20 คน
          ดร.พวงทอง วังราษฎร์  รองผู้อำนวยการกองการศึกษา ฝ่ายวิชาการ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีพันธกิจด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการที่ทันสมัยเพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศชาติ  ในปีงบประมาณ 2560 มหาวิทยาลัยฯ ได้จัดโครงการเครือข่ายอุดมศึกษาพี่เลี้ยง STEM EDUCATION  เพื่อให้สอดคล้องกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21  โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริม สนับสนุน การบริการวิชาการ พัฒนาและเสริมสร้างกระบวนการคิดเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ในสังกัดสถาบันการศึกษาในจังหวัดลำปาง 6 โรงเรียน 2 วิทยาลัย ประกอบด้วย โรงเรียนเสด็จวนชยางค์กูล โรงเรียนสบปราบพิทยาคม โรงเรียนเสริมงามวิทยาคม โรงเรียนเมืองมายวิทยา โรงเรียนลำปางกัลยาณี โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ.แม่เมาะ  และวิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง  โดยทำหน้าที่ฝึกอบรม ถ่ายทอดวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แก่ครูสถานศึกษาเครือข่าย เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนได้
          ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์กนกวรรณ  เวชกามา  ผู้รับผิดชอบกิจกรรมจัดการองค์ความรู้ (KM) โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอุดมศึกษาพี่เลี้ยง STEM EDUCATION กล่าวว่า จากการดำเนินการพัฒนาสื่อร่วมกันระหว่างครูพี่เลี้ยงและครูสถานศึกษาเครือข่ายในปีงบประมาณ 2560  ได้ดำเนินกิจกรรมจำนวน 8 โมดูล ประกอบด้วย โมดูลซองจดหมายพารวย โมดูล Smart food  โมดูลระบบให้อาหารน้ำพืชมหาสนุก โมดูล Aquaponic 4.0 โมดูล Stem for Start up 4.0 โมดูลเถ้าแก่น้อย 4.0  โมดูลไฟฟ้าน่ารู้  และโมดูล IoT  เพื่อเป็นการหาแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงาน ทีมพี่เลี้ยงจึงได้จัดกิจกรรม KM ขึ้น ซึ่งได้รับความร่วมมือจากครูสถานศึกษาเครือข่ายและครูพี่เลี้ยงเป็นอย่างดี ทำให้ได้แนวปฏิบัติที่ดี ( Best practice) ที่เป็นผลมาจากการนำความรู้ไปปฏิบัติจริง และจะได้คัดสรรแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินโครงการ  STEM EDUCATION ในปีถัดไปอีกด้วย
          ข่าว /ภาพ : จารุวรรณ  สุยะ
          ที่มาของข่าว /เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์กนกวรรณ  เวชกามา
 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon