เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 13 กรกฎาคม 2560 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 4923 คน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา ร่วมกับสมาคมสมาคมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า(ประเทศไทย) จัดการประชุมวิชาการนานาชาติ iSTEM -Ed 2017"The 2nd International STEM Education Conference" ระหว่างวันที่ 12-14 กรกฎาคม 2560 ณ โรงแรม ดิ เอมเพลส เชียงใหม่ เพื่อเป็นการพัฒนาการศึกษาของสายอาชีวศึกษาของประเทศไทยโดยเน้นทักษะการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) ของ มทร.ล้านนา เพื่ยกระดับสู่การเรียนสะเต็มศึกษาแบบสากลที่นำเอาแนวคิดจากประเทศที่พัฒนาแล้วมาปรับใช้ให้เข้ากับการจัดการเรียนการสอนของมทร.ล้านนา โดยในพิธีเปิดได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดี มทร.ล้านนา ในฐานะประธานจัดงานกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานและเปิดงานครั้งนี้โดย รศ.ดร.อธิคม ฤกษบุตร นายกสมาคมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า(ประเทศไทย) และการบรรยายพิเศษจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ Professor Akinori Nishihara จาก Tokyo Institute of Technology, Japanร ประเทศญี่ปุ่น บรรยายพิเศษในหัวข้อ Programming Education for Primary School Children (โปรแกรมการจัดการศึกษาสำหรับเด็กในระดับประถมศึกษา) รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น บรรยายในหัวข้อ APEC STEM Education for Economic Growth: Focusing on Curriculum Development,Teacher Education and STEAM and Woman รวมถึงการอบรม Workshop 1 : STEAM Education: Road to Start up โดย คุณกานต์ โอภาสจำรัสกิจ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ บริษัท Silicon Craft Technology Co., Ltd., และการอบรม Workshop 2 : Extended manuscripts from Conference to Journal Level โดย รศ.ดร.จีรนุช เสงี่ยมศักดิ์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมทั้งยังมีการนำเสนอผลงานทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงรูปแบบสะเต็มของด้านศิลปะ (STEM+Art) อีกด้วย
รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดี มทร.ล้านนา กล่าวว่า
“ปัจจุบันการศึกษาในศตวรรษที่ 21 หรือยุคดิจิทัลนั้น
การศึกษาจำเป็นต้องมีการพัฒนารูปแบบให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นรูปแบบ สะเต็มศึกษา
(STEM) จึงได้ถูกนำมาใช้ในการศึกษาตั้งแต่ระดับแรกเริ่มไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัยซึ่ง
คำว่า STEM นั้น มาจาก 4 ศาสตร์ที่นำมาประยุกต์เข้าด้วยกัน
ได้แก่ Science Technology Engineering Mathematics ซึ่งรูปแบบสะเต็มศึกษา
ที่ มทร.ล้านนา ได้ดำเนินการอยู่นั้น ได้ลงไปถึงระดับมัธยมศึกษา
โดยการปูพื้นฐานให้เกิดความเข้มข้นในเชิงวิชาการ
และเปิดช่องทางให้เห็นถึงลักษณะรูปแบบอาชีพในอนาคตว่าเป็นอย่างไรถ้าเราเลือกเรียนอะไร
แล้วเราจะไปเป็นอะไรได้ในอนาคต เราจึงนำสะเต็มศึกษามาใช้ในกระบวนการเรียนของเด็กเหล่านี้นำไปสู่การใช้งานจริง
เพื่อเป็นทางเลือกที่สำคัญที่จะทำให้เด็กมีความแข็งแรงในรายวิชาต่างๆที่ทุกคนเคยวิตกกังวลทั้งวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์โดยเริ่มตั้งแต่เปลี่ยนวิธีการสอน วิธีการนำเข้าสู่บทเรียน
ตลอดจนการสร้างแบบฝึกหัดเพื่อให้เกิดความคิด และวิธีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้เหล่านี้
จนเข้าสู่การศึกษาระดับมหาวิทยาลัยความเข้มข้นของการเรียนแบบสะเต็มศึกษานั้นก็จะก้าวสูงขึ้นไปอีกขั้น
นั่นหมายความว่า ระบบ กลไกในการเรียนรู้ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
การเรียนการสอนที่เน้นแนวคิดว่า สิ่งที่สอนต้องได้ใช้ สิ่งที่ใช้ต้องได้สอน สิ่งนั้นคือหัวใจสำคัญของการเรียนรูปแบบสะเต็มศึกษาที่นักศึกษาของมทร.ล้านนา
เมื่อจบการศึกษาแล้วจะนำสิ่งเหล่านั้นเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพต่อไป
การจัดงานครั้งนี้ถือว่าเป็นโอกาสอันดีที่ภาคการศึกษาจะได้ยกระดับการศึกษารูปแบบสะเต็ม
ให้ก้าวสู่ความเป็นสากลโดยการนำเอาแนวคิดหรือวิธีการจากผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศที่มีการพัฒนาการศึกษาเพื่อนำมาปรับใช้ให้เข้ากับรูปแบบสะเต็มของประเทศไทยอีกด้วย”
คลังรูปภาพ : istem
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา