โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ร่วมลงนามความร่วมมือพัฒนากำลังคนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้านนวัตกรรมด้วย Thailand 4.0 ร่วมกับ สมาคมผู้ผลิตเครื่องมือตัดไทย | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา ร่วมลงนามความร่วมมือพัฒนากำลังคนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้านนวัตกรรมด้วย Thailand 4.0 ร่วมกับ สมาคมผู้ผลิตเครื่องมือตัดไทย

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 17 มิถุนายน 2565 โดย อุไรวรรณ สายยะนันท์ จำนวนผู้เข้าชม 693 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 14 มิถุนายน  2565 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับ สมาคมผู้ผลิตเครื่องมือตัดไทย โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และนายจตุรงค์  พิศุทธ์สินธุ์ นายกสมาคมผู้ผลิตเครื่องมือตัดไทย เข้าร่วมพิธีลงนาม พร้อมกันนี้ยังมี อาจารย์ ดร.กิจจา ไชยทนุ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือ 

โดยการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้านนวัตกรรมด้วย Thailand 4.0 โดยการผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ  (S-Curve) ซึ่งสามารถนำไปเป็นตัวอย่างในการขยายผลให้กับมทร.ล้านนา สถานศึกษาของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และสถาบันการศึกษาภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา และสถาบันการศึกษาอื่นที่เกี่ยวข้องร่วมถึงการพัฒนาผลงานวิจัยและผลงานวิชาการอื่น ๆ ที่เป็นความร่วมมือแบบรัฐร่วมเอกชน ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงโดยมีระยะเวลาความร่วมมือ 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 ถึงปีการศึกษา 2570

ทั้งนี้ มทร.ล้านนามทร.ล้านนาจะได้ดำเนินการขยายผล ในด้านการศึกษาผลิตพัฒนากำลังคน ผลงานวิจัย และผลงานวิชาการอื่น ๆ ที่เป็นความร่วมมือ แบบรัฐร่วมเอกชน มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนให้เป็นรูปแบบโรงเรียนในโรงงาน โดยจะปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทและรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อนำมาใช้เป็นหลักสูตรต้นแบบในการพัฒนาบุคลากรสายวิชาชีพ ของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรม  อุตสาหการ หรือจัดทำหลักสูตรใหม่ หรือหลักสูตรอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ

 

 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon