โลโก้เว็บไซต์ อบจ.เชียงใหม่ หนุนค่ายหุ่นยนต์ | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

อบจ.เชียงใหม่ หนุนค่ายหุ่นยนต์

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 4 เมษายน 2560 โดย สิริญญา ณ นคร จำนวนผู้เข้าชม 1585 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัด “โครงการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้นักเรียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ค่ายหุ่นยนต์)” ประจำปี 2560 ระหว่างวันที่ 3 - 5 เมษายน 2560 โดยได้รับเกียรติจากนายไพรัช  ใหม่ชมพู รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงาน ณ ห้องนวัตกรรมการเรียนรู้ อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ 56 พรรษามทร.ล้านนา (เชียงใหม่)

อาจารย์ผดุงศักดิ์  วงศ์แก้วเขียว หัวหน้าโครงการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้นักเรียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า โครงการดังกล่าวฯ มีเป้าหมายให้โรงเรียนมุ่งปฏิรูปการเรียนรู้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เตรียมพร้อมนักเรียนให้มีทักษะ คุณลักษณะแห่งอนาคต โดยเฉพาะขีดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์มีความรอบรู้ กล้าเผชิญในสิ่งที่ยากและท้าทาย เพื่อสร้างรากฐานให้การเป็นพลเมืองยุคใหม่ที่ตื่นตัวอยู่เสมอเป็น Active Citizen นำพาสังคมประเทศชาติสู่การเป็นชาติที่พัฒนาแล้วอันจะเป็นการต่อยอด ขับเคลื่อนนำพาสังคมสู่การเป็นชาติที่พัฒนาแล้ว โดยแบ่งนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการเป็น 2 กลุ่มระดับประถมเน้นการฝึกปฏิบัติด้านการสร้าง การประกอบหุ่นยนต์และการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุม ส่วนระดับมัธยมต้นเน้นด้านการเขียนโปรแกรมควบคุมการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ การจับสิ่งของและอุปกรณ์ตรวจจับ

ด้านนายไพรัช  ใหม่ชมพู รองนายกองค์กรส่วนจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึง “โครงการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้นักเรียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ว่า เป็นโครงการที่ปฏิรูปการเรียนสู่ทักษะใหม่ในศตวรรษที่ 21 โดยนำหุ่นยนต์มาเป็นสื่อและเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนการสอน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ออกแบบเทคโนโลยีและส่งเสริมให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ซึ่งมีโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่เข้าร่วมโครงการได้แก่ โรงเรียนบ้านศาลา โรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัยและโรงเรียนบ้านแม่งอนขี้เหล็ก ซึ่งเชื่อว่านักเรียนที่เข้าร่วมโครงการนี้กว่า 60 คน จะนำทักษะที่ได้ไปแสดงศักยภาพเด็กไทยในเวทีระดับนานาชาติต่อไป

 

 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา