โลโก้เว็บไซต์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU มทร.ล้านนา ได้เข้าร่วมสังเกตุการณ์ การตรวจติดตามผลการดำเนินงานและรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินโครงการรอบ 6 เดือน โครงการ Talent Mobility ประจำปีงบประมาณ 2565 รอบที่ 1 โครงการ การพัฒนาเครื่องอัดประจุไร้สายสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในประเทศไทย นำโดย ผศ.ดร.อนนท์ นำอิน หัวหน้าโครงการ ร่วมด้วย บริษัทโชเซ่น เทคโนโลยี จำกัด | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU มทร.ล้านนา ได้เข้าร่วมสังเกตุการณ์ การตรวจติดตามผลการดำเนินงานและรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินโครงการรอบ 6 เดือน โครงการ Talent Mobility ประจำปีงบประมาณ 2565 รอบที่ 1 โครงการ การพัฒนาเครื่องอัดประจุไร้สายสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในประเทศไทย นำโดย ผศ.ดร.อนนท์ นำอิน หัวหน้าโครงการ ร่วมด้วย บริษัทโชเซ่น เทคโนโลยี จำกัด

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 26 มกราคม 2566 โดย Natthida Wongpaeng จำนวนผู้เข้าชม 2335 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU มทร.ล้านนา ได้เข้าร่วมสังเกตุการณ์ การตรวจติดตามผลการดำเนินงานและรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินโครงการรอบ 6 เดือน โครงการการเคลื่อนย้ายบุคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยในภาคอุตสาหกรรม (Talent Mobility) ประจำปีงบประมาณ 2565 รอบที่ 1 ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ Microsoft Teams 

โครงการ การพัฒนาเครื่องอัดประจุไร้สายสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในประเทศไทย นำโดย ผศ.ดร.อนนท์ นำอิน หัวหน้าโครงการ ร่วมด้วย บริษัทโชเซ่น เทคโนโลยี จำกัด นำโดย รศ.ดร.อมรรัตน์ แก้วประดับ กรรมการทางด้านเทคนิค, ดร.ผ่องศรี เวสารัช กรรมการทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา, น.ส.อัญนาฎ รัตนสถิตกุล ผู้ประสานงาน TM มจธ., น.ส.สิมิลัน เลิศพลรัตน์ ผู้ประสานงาน TM มจธ. และ ผศ.ว่าที่ร้อยโทสุรพิน พรมแดน หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU พร้อมคณะ ได้เข้าร่วมประเมิน ติดตามความก้าวหน้า และให้คำแนะนำในการเข้าร่วมติดตามผลการดำเนินงานโครงการฯ และส่งมอบผลผลิตโครงการ TM รอบ 6 เดือนทั้งนี้ ผศ.ดร.อนนท์ นำอิน หัวหน้าโครงการ ได้รายงานความก้าวหน้าตามตัวชี้วัด และได้รายงานถึงความสำคัญของโครงการที่ส่งผลต่อการพัฒนาโครงการเพื่อธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าต่อยอดภายในอนาคต ทั้งนี้ได้รับคำแนะนำจากคณะกรรมการเพื่อต่อยอดโครงการให้ภาคอุตสาหกรรมก้าวไกลและเห็นผลได้จริงภายในในอนาคตอีกด้วย







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon