โลโก้เว็บไซต์ โครงการติดตามความก้าวหน้าและสรุปบทเรียน โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 บ้านหลวง คณะวิศวกรรมศาสตร์ | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

โครงการติดตามความก้าวหน้าและสรุปบทเรียน โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 บ้านหลวง คณะวิศวกรรมศาสตร์

เผยแพร่เมื่อ : เสาร์ 23 กรกฎาคม 2559 โดย นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส จำนวนผู้เข้าชม 2290 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

       วันที่ 23 กรกกฏาคม 2559  อาจารย์วรเชษฐ์ หวานเสียง ตัวแทนคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ว่าที่ร.ต.ชัยภูมิ สีมา ผู้รับผิดชอบโครงการ รวมถึงคณะกรรมการในการดำเนินโครงการ เข้าร่วมโครงการติดตามความก้าวหน้าและสรุปบทเรียน โครงการ ยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ได้รับเกียรติผู้ทรงคุณวุฒิจากท่านอุดม มณีขัติย์ รศ.สุทัศน์ จุลศรีไกรวัล รศ.ดร.อภิรักษ์ เพียรมงคล ดร.อรุณี ยศบุตร และนายเกรียงไกร ธารพรศรี รองผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน รวมถึงบุคลากรสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน โดยมีนายทรงวุฒิ นิติภักดิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโหล่งขอด กำนันตำบลโหล่งขอด ผู้ใหญ่บ้านหลวง หัวหน้าส่วนราชการ  เครือข่ายต่าง ๆ ร่วมตรวจเยี่ยมพื้นที่ดำเนินงานของโครงการ ซึ่งได้ดำเนินงานต่อเนื่องปีที่ 2 ในงบประมาณ พ.ศ. 2559

        คณะวิศวกรรมศาสตร์ นำโดยคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้มีการทำโครงการประสานความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ กับ  หน่วยงานภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย 1.นายอำเภอพร้าว 2.เจ้าคณะตำบลโหล่งขอด   3.ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ 4.นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโหล่งขอด 5.หัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีลานนา  หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ (นพค.32)  6.พัฒนาการอำเภอพร้าว 7.ประธานกรรมการสหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด 8.ผู้อำนวยการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอพร้าว 9.ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหลวง 10.ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหลวง 11.ประมงอำเภอพร้าว 12.ปศุสัตว์อำเภอพร้าว 13.เกษตรอำเภอพร้าว 14.กำนันตำบลโหล่งขอดและผู้ใหญ่บ้านบ้านหลวง  ณ ศาลาปฏิบัติธรรมทิพารัตน์วิมาน วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล บ้านหลวง ตำบลโหล่งขอด  อำเภอพร้าว  จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ วันจันทร์ ที่ 4 เมษายน 2559  มีข้อมูลหมู่บ้านโดยสรุปดังนี้  จำนวนประชากรทั้งหมด 1,309 คน แยกเป็นชาย  659 คน หญิง  650 คน จำนวนหลังคาเรือน 470  หลังคา ชุมชนมีวิถีชีวิตเรียบง่าย ระบบการจัดการกับผลิตภัณฑ์การเกษตรยังคงเป็นแบบลักษณะดั้งเดิมการประกอบอาชีพและรายได้ของประชาชน  มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก  ปลูกพืช  เลี้ยงสัตว์  พืชเศรษฐกิจได้แก่  ข้าว  ข้าวโพด  มันฝรั่ง  มะม่วง  ลำไย  และอาชีพค้าขาย รับจ้างเป็นอาชีพรอง  การพาณิชกรรม / การบริการ ในหมู่บ้านมี ธนาคารชุมชน จำนวน 1 แห่ง ปั๊มน้ำมันขนาดเล็ก จำนวน  4  แห่ง ร้านจำหน่ายก๊าซหุงต้ม จำนวน  2  แห่ง ด้านเศรษฐกิจ  ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  พืชที่สร้างรายไห้แก่ชุมชน  คือ  ข้าว  ข้าวโพด  มันฝรั่ง  ทำให้ราษฎรมีรายได้  มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  แต่มีปัจจัยที่เป็นปัญหาคือ  ปุ๋ย  ยา  มีราคาแพง  ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงและเป็นอันตรายต่อเกษตรกร  และยังไม่มีตลาดที่แน่นอน  เกษตรกรต้องพึ่งพ่อค้าคนกลาง   ผลผลิตของพืชและไม้ผลที่เสียหายจากการเก็บเกี่ยว และไม่ได้มาตรฐานส่งออกไม่ได้นำมาสร้างมูลค่าเพิ่ม  เกิดความเสียหายของเครื่องมือ เครื่องจักรทางการเกษตรที่ต้องนำเข้ามาซ่อมแซมในตัวเมืองต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง   ปัญหาดังกล่าวยังต้องการคำแนะนำและการช่วยเหลือ ชุมชนมีความต้องการพัฒนาอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ พัฒนาด้านการตลาด ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว และความช่วยเหลือในด้านเทคโนโลยีการแปรรูปพืชผลทางการเกษตรที่ทันสมัยเพื่อช่วยยกระดับชีวิตคนในชุมชนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน 

จากข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลเท็จจริงที่ได้จากการเสวนากับชาวบ้านในหมู่บ้านบ้านหลวง หมู่ 6 ตำบลโหล่งขอด  อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่  พบว่าสภาพโดยทั่วไปคนในชุมชนมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย โดยอนุมานแล้วคนในชุมชนต้องการรายได้เฉลี่ย 10,000 ต่อเดือน ต่อครอบครัว (4 คน) เท่ากับ 120,000 บาท ต่อปี

จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากภาคส่วนต่างๆ พบประเด็นสำคัญ ดังนี้

รายได้ภายในหมู่บ้านมาจากอาชีพเกษตรกร ซึ่งเป็นอาชีพหลัก โดยจะปลูกพืชและเก็บเกี่ยว ปีละครั้ง

รายจ่ายภายในหมู่บ้าน แบ่งเป็น 3 ประเภท

1. รายจ่ายค่าอุปโภค บริโภค

2. รายจ่ายจากการประกอบอาชีพ เช่น ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรง

3. รายจ่ายอื่นๆ เช่น หนี้สิน การผ่อนสินค้าเครื่องใช้

         นอกจากกรณีข้างต้นแล้ว หลังจากฤดูเก็บเกี่ยวคนในชุมชนมีความพยายามที่จะหารายได้เสริม เช่น การหาของป่า การปลูกพืชเสริม ซึ่งมีความเสี่ยงสูงเนื่องจากต้องพึ่งธรรมชาติ ท้ายที่สุดหากรายได้ไม่เพียงพอก็เป็นเหตุชักนำให้มีพฤติกรรมผิดกฎหมายหรือทำลายศีลธรรม ได้แก่ การค้าไม้เถื่อน การเผ่าป่า การผลิตสุราเถื่อน เป็นต้น

          คณะทำงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน  ได้วิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขที่ได้จากการประชาคมแล้ว สามารถบูรณาการศาสตร์ทั้ง 4 ศาสตร์จากความชำนาญการของคณาจารย์ทางด้านบริหารธุรกิจฯ  ด้านวิศวกรรม   ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร และด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม โดยมีบุคลากรนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่จะให้การสนับสนุนและร่วมกันยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน  โดยจะนำองค์ความรู้ที่ได้จากการบูรณาการ  ผลงานวิจัย มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มุ่งเน้นการนำวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ให้เกิดผลลัพธ์ที่มีคุณภาพ วัดผลได้  เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนที่แท้จริงและเกิดความยั่งยืน โดยในปีงบประมาณ 2559 คณะทำงานร่วมกับชุมชนได้วิเคราะห์ร่วมกันแล้ว เห็นควรให้ดำเนินโครงการในประเด็นที่ได้ประชาคม ภายใต้หลักการ “ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เพิ่มมูลค่าจากวัตถุดินของชุมชนที่มีอยู่” ซึ่งนำมาสู่กรอบแนวความคิดในการยกระดับคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน ของชุมชนบ้านหลวง

กิจกรรมที่ดำเนินงานแล้ว ประกอบด้วย

1. โครงการประชุมชี้แจง การดำเนินงานโครงการฯ ประจำปีงบประมาณ 2559

2. โครงการประสานความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กับ หน่วยงานภาคีเครือข่าย อำเภอพร้าว  จังหวัดเชียงใหม่     

3. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผลผลิตทางการเกษตร เช่น มันฝรั่ง(กัลยา)  น้ำมะม่วง  และ น้ำเสาวรส  

4. โครงการศึกษาข้อมูลและการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผลผลิตทางการเกษตรและกลุ่มหัตถกรรม

5. โครงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ผลิตภัณฑ์

6. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มหัตถกรรม จักสาน

7. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การส่งเสริมอาชีพให้แก่ครัวเรือนต้นแบบเกษตรอินทรีย์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

8. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

9. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการมัคคุเทศก์ชุมชน

10. โครงการพัฒนาสื่อทางการตลาดเพื่อการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวชุมชน

กิจกรรมที่จะดำเนินงานหลังจากการติดตามประเมินผล ประกอบด้วย

1. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มหัตถกรรม ปั้นดิน

2. อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง   การทำบัญชีเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือนต้นแบบเกษตรอินทรีย์ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ให้บริการโฮมสเตย์

4. โครงการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

5. โครงการเสริมสร้างองค์ความรู้และพัฒนาทักษะด้านการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน

6. ติดตามและประเมินผลภาพรวมของโครงการ

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน : เนื่องจากชุมชนบ้านหลวง มีการทำเกษตรกรรมปลูกพืชหมุนเวียนตลอดทั้งปี จนได้ฉายา “แผ่นดินร้องไห้” ชุมชนจึงมีเวลาว่างในทำกิจกรรมน้อย แนวทางแก้ไขคณะกรรมการดำเนินงานควรศึกษาข้อมูลทำปฏิทินกิจกรรมบ้านหลวง เพื่อวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เรื่อง : นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส

ภาพ : นายจักรรินทร์ ชื่นสมบัติ








ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon