โลโก้เว็บไซต์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ลงพื้นที่ประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 โครงการการพัฒนาระบบการจัดทำฐานข้อมูลคำสั่งควบคุมเครื่องจักรกลอัตโนมัติ สำหรับงานแปรรูปไม้ บริษัท เจริญแสง จำกัด ของ นายพงศกร สุรินทร์ หัวหน้าโครงการ ร่วมกับ บริษัท เจริญแสง จำกัด ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ลงพื้นที่ประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 โครงการการพัฒนาระบบการจัดทำฐานข้อมูลคำสั่งควบคุมเครื่องจักรกลอัตโนมัติ สำหรับงานแปรรูปไม้ บริษัท เจริญแสง จำกัด ของ นายพงศกร สุรินทร์ หัวหน้าโครงการ ร่วมกับ บริษัท เจริญแสง จำกัด ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 26 ธันวาคม 2566 โดย Natthida Wongpaeng จำนวนผู้เข้าชม 2097 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2566 กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU นำโดย ผศ.ว่าที่ร้อยโทสุรพิน พรมแดน หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU พร้อมคณะ ได้ลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการบริษัท เจริญแสง จำกัด ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เพื่อประชุมประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย ณ สถานประกอบการ "การพัฒนาระบบการจัดทำฐานข้อมูลคำสั่งควบคุมเครื่องจักรกลอัตโนมัติ สำหรับงานแปรรูปไม้ บริษัท เจริญแสง จำกัด ของ ผศ.พงศกร สุรินทร์ อาจารย์สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา ลำปาง หัวหน้าโครงการ"

โดยมี ผศ.ดร.ธีระศักดิ์ สมศักดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนเทคโนโลยีที่เหมาะสมการพัฒนาอย่างยั่งยืน นวัตกรรมเชิงระบบ ภาคชนบทและอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นคณะกรรมการประเมินโครงการดังกล่าว

ทั้งนี้ ผศ.พงศกร สุรินทร์ (หัวหน้าโครงการ) ,ชนกฤษณ์ เทพก๋อง (เจ้าหน้าที่ดูแลระบบบริษัทเจริญแสง จำกัด), นายศราวุธ งูทิพย์ (เจ้าหน้าที่ดูแลระบบบริษัทเจริญแสง จำกัด) และ นางปรนอม วิชัยคำ (เจ้าหน้าที่ดูแลระบบบริษัทเจริญแสง จำกัด)ได้รายงานผลการดำเนินงานโครงการในที่ประชุม และร่วมหารือ แนวทางในการพัฒนาโครงการดังกล่าวเพื่อต่อยอดโครงการและเพิ่มศักยภาพให้แก่สถานประกอบการด้วย

นักวิจัยได้เข้าไปศึกษาและชี้แนะแนวทางโดยการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการจัดทำฐานข้อมูลคาสั่งควบคุมเครื่องจักรกลอัตโนมัติ สำหรับงานแปรรูปไม้ รวมทั้งถ่ายทอดความรู้การจัดทำไฟล์ต้นแบบชิ้นงาน 3 มิติ ของผลิตภัณฑ์ ด้วยโปรแกรม Solidworks และการจัดทำไฟล์ G-Code สำหรับควบคุมเครื่องจักรอัตโนมัติของผลิตภัณฑ์ ด้วยโปรแกรม Solid CAM ให้กับพนักงานของสถานประกอบการ  เพื่อให้สถานประกอบการได้นำไปประยุกต์กับการใช้งานจริงในโรงงาน ทำให้ลดขั้นตอนการทำงาน และลดความผิดพลาดของการทำงานแก่สถานประกอบการอีกด้วย ทั้งนี้ได้มีการวางแผนการพัฒนาต่อยอดโครงการ และแนวทางการพัฒนาข้อเสนอโครงการและมีการแนะนำให้มีการขอทุนต่อยอดในอนาคต







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon