โลโก้เว็บไซต์ กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ลงพื้นที่ติดตามและประเมินผลการสนับสนุนกิจกรรมมูลนิธิโครงการหลวง ภายใต้การวิจัยเพื่อการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความเหมาะสม ในการผลิตและการอบเส้นใยกัญชง  ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยเสี้ยว | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ลงพื้นที่ติดตามและประเมินผลการสนับสนุนกิจกรรมมูลนิธิโครงการหลวง ภายใต้การวิจัยเพื่อการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความเหมาะสม ในการผลิตและการอบเส้นใยกัญชง ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยเสี้ยว

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 5 มิถุนายน 2566 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 1486 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

          วันที่ 3-4 มิถุนายน พ.ศ. 2566 คณะทำงานผู้รับผิดชอบงานดำเนินการสนับสนุน ติดตาม และประเมินผลการสนับสนุนกิจกรรมมูลนิธิโครงการหลวง กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ลงพื้นที่ร่วมกับหัวหน้าโครงการ จัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างความรู้ความเข้าใจการใช้งาน เทคนิค วิธีการแก้ไขปัญหาและซ่อมบำรุงเครื่องจักร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเส้นใยกัญชง แก่เจ้าหน้าที่ และชาวบ้าน ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยเสี้ยว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่      

          โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรเชษฐ์ หวานเสียง อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ หัวหน้าโครงการ ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการ และขั้นตอนการอบเส้นใยกัญชง ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อยกระดับกระบวนการ และใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการอบเส้นใยกัญชง และมีผู้ช่วยศาสตราจารย์
ขัติพงษ์  จิโนสุวัตร์ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ถ่ายทอดเทคนิค วิธีการแก้ไขปัญหาและซ่อมบำรุงเครื่องแยกแกนกัญชง ให้กับเจ้าหน้าที่ ชาวบ้าน เกษตรกรผู้เพาะปลูกกัญชง และกลุ่มอาชีพในพื้นที่ของมูลนิธิโครงการหลวง โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคนิคเฉพาะทางในการผลิตเส้นใยกัญชง โดยการใช้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตเส้นใยกัญชงในขั้นตอนแยกแกนกัญชง และควบคุมคุณภาพของเส้นใย ซึ่งกัญชงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในหลายๆด้าน การพัฒนา สนับสนุนเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เหมาะสมต่อการแปรรูป จึงเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาต่อยอดเป็นพืชเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรในพื้นที่และมูลนิธิโครงการหลวงต่อไป







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon