โลโก้เว็บไซต์ ผู้ว่าฯ เชียงใหม่ เยี่ยมชมกระบวนการจัดการ เพื่อลดการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของทีมงานคณาจารย์ วิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา  | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ผู้ว่าฯ เชียงใหม่ เยี่ยมชมกระบวนการจัดการ เพื่อลดการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของทีมงานคณาจารย์ วิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 29 มีนาคม 2564 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 5544 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

     วันที่ 25 มีนาคม 2564 ดร.กิจจา ไชยทนุ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา พร้อมด้วยคณาจารย์และนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา ให้การต้อนรับ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมคณะในโอกาสที่เดินทางเข้าเยี่ยมชมและให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการบริหารจัดการ เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จากทีมคณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และ มทร.ล้านนาในการแก้ปัญหาหมอกควัน PM 2.5 ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยคณะทำงานได้มีนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณของเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในแต่ละปีการผลิตของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งประกอบด้วย ข้าวโพด ลำไย และลิ้นจี่ พร้อมทั้งแนวทางการบริหารจัดการที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่นการนำเข้าสู่กระบวนการผลิตไฟฟ้า หรือการใช้เป็นเชื้อเพลิงความร้อนในการอบผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเป็นอีกวิธีการหนึ่งในการจัดการกับปัญหาหมอกควัน PM 2.5 ของจังหวัดเชียงใหม่อย่างยั่งยืน และในโอกาสเดียวกันนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่และคณะ ได้ชมการสาธิตการใช้เครื่องย่อยและเครื่องบดเม็ดอัดเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า พร้อมทั้งชมนิทรรศการแสดงผลงานคณาจารย์และนักศึกษาที่ได้คิดค้นวิธีการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่นกระถางต้นไม้ ถาดเพาะกล้า และการนำเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเพื่อใช้ในทางการแพทย์โดยใช้เป็นวัสดุหลักในการผลิตอุปกรณ์สำหรับช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้พิการและผู้สูงอายุ  ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการกำจัดเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติและไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon