โลโก้เว็บไซต์ ติดตามผลการดำเนินงานโครงการยกระดับฯ 2561 หมู่บ้านห้วยทราย   | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ติดตามผลการดำเนินงานโครงการยกระดับฯ 2561 หมู่บ้านห้วยทราย

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 11 กรกฎาคม 2561 โดย นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส จำนวนผู้เข้าชม 2146 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 11 กรกฎาคม 2561  สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้จัดโครงการติดตามผลการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้านชุมชนและภาคอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 โอกาสนี้ ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรชัย  กังวล รองศาสตราจารย์ ดร.อภิรักษ์ เพียรมงคล และบุคลากรสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ประยงค์ ใสนวน  หัวหน้าโครงการ และคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ร่วมตรวจเยี่ยมพื้นที่ดำเนินงานของโครงการ

               คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กำหนดพื้นที่ดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณีหมู่บ้านห้วยทราย  หมู่ที่ 8 ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้ดำเนินงานต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 บ้านห้วยทรายเป็นหมู่บ้านที่มีภูเขาล้อมรอบ พื้นที่ทำกินส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขา มีลำน้ำ ลำห้วย และน้ำฝน เป็นแหล่งน้ำที่เพียงพอตลอดทั้งปี ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนพื้นเมืองดั้งเดิม นับถือศาสนาพุทธ และมีชนเผ่าละหู่ประมาณ 20 ครัวเรือน เป็นชุมชนเกษตรกรรม มีรายได้หลักจากการทำสวนลำไย รายได้เสริมจากข่า ตะไคร้ ไพล และสมุนไพรในป่า เช่นลูกใต้ใบ ชุมชนบ้านห้วยทรายมีความต้องการพัฒนาให้เกิดความหลากหลายด้านเกษตรอินทรีย์ โดยยึดหลักการเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในอนาคต คณะทำงานได้ดำเนินกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรมได้แก่

  1.  โครงการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร โดยการนำผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรตะไคร้ หัวและใบมาทำการอบแห้ง
  2. โครงการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนจากวัสดุและเศษวัสดุในชุมชน โดยการนำลำต้นของข่าทำเป็นกระดาษ ต่อยอดเป็นปกสมุดและกรอบรูป การนำเศษกระดาษมาม้วนและขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ การนำเศษกระดาษทำดอกไม้ และการนำหนังจากโซฟาเก่าทำกุญแจและของที่ระลึก
  3. โครงการส่งเสริมการปลูกพืชปลอดภัยลดการใช้สารเคมี โดยการปลูกพืชปลอดสาร 14 ชนิด ในแปลงสาธิต 3 กลุ่ม

และมีกิจกรรมเสริมอีก 1 กิจกรรมคือการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพเพื่อการใช้สารเคมีทางการเกษตรในชุมชนอย่างปลอดภัย

 

เรื่อง : นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส

ภาพ : นายจักรรินทร์ ชื่นสมบัติ







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา