โลโก้เว็บไซต์ IoT ในงานเกษตรอุตสาหกรรม | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

IoT ในงานเกษตรอุตสาหกรรม

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 19 มีนาคม 2561 โดย สิริญญา ณ นคร จำนวนผู้เข้าชม 1704 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด ร่วมกับ สมาคมสมองกลฝังตัวไทย จัดอบรม “IoT ในงานเกษตรอุตสาหกรรม” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.กิจจา  ไชยทนุ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นประธานเปิดการอบรม เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2561 ณ ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ Learning Innovation Center อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ 56 พรรษา มทร.ล้านนา

โดยการอบรมในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง บมก.กสท. (CAT), สมาคมสมองกลฝังตัว TESA และกลุ่มเทคโนโลยีการเกษตร การจัดการทรัพยากร การอนุรักษ์พลังงานและพลังงานกลุ่มทดแทนและเป็นการสร้างเครือข่ายกับกลุ่มมหาวิทยาลัยฯ มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) มาประยุกค์ใช้ในการเกษตร พัฒนากลุ่มผู้ประกอบการด้านพลังงาน Energy service providers อีกทั้งยังเป็นการจัดการพลังานอย่างมีประสิทธิภาพอันจะทำให้เกิดงานวิจัย งานบริการวิชาการ โครงการที่สามารนำองค์ความรู้เทคโนโลยีที่พัฒนาชึ้นไประยุกต์ใช้และถ่ายทอดเทคโนโลยีพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานในระดับหมู่บ้าน ชุมชรและเชิงพาณิชน์ในอนาคต โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านระบบ IoT  คุณพิสิฐ  โรจน์ทองคำ วิศวกรจาก ST Microcelectronic Thailand Ltd,. และคุณอนนท์เดช  กิจศิรานุวัตร วิศวกรจาก CAT Telecom ให้ความรู้เกี่ยวกับ STM32LO and Syten Architecture Overview, STM32LoRa Discovery Kits Overview, LoRa Senor Device Setup and Reconfiguration, Hands-on GPO, LoRa Technology by CAT Telecom, LoRa for Embedded System Developers

รศ.ดร.โกศล  โอฬารไพโรจน์ รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ในฐานะคณะการดำเนินงานกล่าวว่า “การอบรบ IoT ในงานเกษตรอุตสาหกรรม” จัดขึ้นระหว่างวันที่  19 – 21 มีนาคม 2561  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ด้าน IoT เพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี สร้างอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้สำหรับอุตสาหกรรมเกษตรอุตสาหกรรมที่เหมาะสมกับทุกภาคส่วนและสามารถใช้ได้จริง เพื่อการจัดการทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด พัฒนารูปแบบของการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ผู้สนใจ สร้างขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการเกษตรอุตสาหกรรม อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ บุคลากร และกลไกด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนเพื่อขยายผลไปยังระดับตำบล จังหวัดและระดับประเทศต่อไป

 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา